ยุคกลาง (Middle Age) ประมาณ ค.ศ. 300 ค.ศ. 1300
ความเจริญทางด้านศิลปะในยุคกลาง เป็นการสร้างสรรค์โดยวัดและคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ศิลปะของคริสต์ศาสนาจึงเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับวัดคาทอลิก มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่สิ่งก่อสร้างจะมีขนาดเล็กลง นิยมสร้างด้วยหินและปูผิวด้วยอิฐ สร้างสุสานด้วยการเจาะหินหน้าผา กลุ่มศิลปะที่อยู่ในยุคกลางได้แก่ ศิลปะโกติก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะบารอก และรอกโกโก
ศิลปะโกธิก (Gothic Art)
ศิลปะโกธิกนิยมแสดงเรื่องราวทางศาสนาในแนวเหมือนจริง (Realistic Art) ไม่ใช้สัญลักษณ์เหมือนศิลปะยุคก่อน งานสถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน ซุ้มประตูหน้าต่างช่องลม มีส่วนโค้งแปลกกว่าศิลปะแบบใด ๆ
สถาปัตยกรรมใช้โครงสร้างอาร์ชแบบโค้งปลายแหลม (pointed Arch)ใช้เสาค้ำยันภายนอกอาคาร (flying buttresses) ส่วนช่องโล่งจากประตูถึงแท่งบูชาวงเก้าอี้ไว้สองข้างมีทางเดินขนานทั้งซ้ายขวา
อาคารสูง ยอดแหลมนิยมประดับกระจกสีที่หน้าต่าง
ประติมากรรม ใช้ประดับตกแต่งโบสถ์ส่วนสำคัญอยู่เหนือประตูทางเข้าและเสาใช้ประดับตกแต่งสุสานคนสำคัญเรื่องราวในคริสตศาสนารูปคนสัดส่วนค่อนข้างยาว เป็นเส้นตรงรอยยับย่นของเสื้อผ้ามากชอบสร้างรูปลอยตัว
จิตรกรรม การทำกระจกสี (Stain Glass)ศิลปะกอธิค พบใน ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน เยอรมัน
สมัยเรอนาซอง ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)
คำว่าเรอนาซอง หมายถึง การเกิดใหม่ (rebirth) การฟื้นฟูขึ้นมาอีก การกลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่สงครามครูเสดนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุโรปตะวันตกอย่างใหญ่หลวง ระบอบการปกครองแบบศักดินาหมดสิ้นไป แว่นแคว้นต่าง ๆ เริ่มมีความเป็นอิสระ ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่ ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 - 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศ. 1483 -1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 -1564) และโจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 -1680)
โมนาลิซา (Mona Lisa)
รูปเดวิด (David)
รูปพิเอตา (Pietta)
งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยฟื้นฟู มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม ศิลปินที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างสรรค์งานไว้เป็นอมตะเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)
ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโลชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาฝนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (Galatea) ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะ และศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้
ศิลปะบารอกและรอกโกโก (Baroque and Rococo Art)
คำว่า Baroque และ Rococo ในปัจจุบัน หมายถึง สิ่งที่มีการตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ วิจิตรพิสดารจนเกินงาม เป็นศิลปะตอนปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเชื่อมต่อกับศิลปะยุคใหม่ ศิลปะแบบบารอกและรอกโกโก เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบของศิลปะที่เน้นรายละเอียดส่วนย่อยอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า งานจิตรกรรม และประติมากรรม ยังคงเน้นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ (Realistic) แต่ใช้สีรุนแรงขึ้น งานสถาปัตยกรรมประกอบด้วยเส้นโค้งมนตกแต่งโครงสร้างเดิม มีลวดลายอ่อนช้อย งดงาม อาคารที่ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะบารอก และรอกโกโก ได้แก่ โบสถ์เซนต์แอกเนส (Church of St. Agnese) โบสถ์เซนต์คาร์โล (Church of St. Carlo) ที่กรุงโรม พระราชวังแวร์ซาย (Versailes palace) ในประเทศฝรั่งเศส โบสถ์ทั่วไปในยุโรปตอนเหนือ เช่นในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี เป็นต้น กลับด้านบน
สมัยบาโรค (Baroque) ค.ศ. 1550 - 1750
ศูนย์กลางอยู่ที่โรม "บาโรค" หมายถึง ความผิดปกติ ไม่ถูกต้องตามระเบียบไม่สม่ำเสมอ ตามปกติเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ ในเชิงดูหมิ่นดูแคลนต่อสิ่งที่หรูหรา ฟุ้งเฟ้อจนเกินความพอดี คาราวัคจีโอ (Caravaggio) เบอร์นินี่ (Bernine )
ประติมากร การจัดลีลาท่าทาง เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของรูปสลัก รูปคน ของเบอร์นินี่ ถ้าไม่แสดงอาการพูดก็ต้องตะโกนหรือแสดงอาการต่าง ๆ
สถาปัตยกรรมบาโรคของอิตาลี พระราชวังลูฟว์พระราชวังแวร์ซายส์ (Versalles)
สเปน - เบลลาสเกซ หรือเวลาสเกซ (Velasques)
ศิลปกรรมเฟลมมิช รูเบนส์ (Rubens) ฟาน ไดค์ หรือ ฟาน เดค (Van Dyck)
ศิลปะก่อนเข้าสู่ศิลปะสมัยใหม่
ศิลปะโรโกโก (Rococo)
คริสศตวรรษที่ 18รูปแบบศิลปกรรมโรโกโกแสดงถึงความต้องการและรสนิยมของชนชั้นสูง ศิลปะโรโกโกเสื่อมลงพร้อมการล่มสลายของราชวงศ์บูร์บองและการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศสคำว่า โรโกโก หมายถึง การตกแต่งภายในอาคารและรูปลักษณะของลวดลายที่ปรากฎในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ราว ค.ศ. 1700 จุดเด่นของศิลปะโรโกโก อยู่ที่การตกแต่งภายในและสิ่งของเล็ก ๆ การออกแบบเครื่องเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ รูปทรงบอบบาง ประดับลวดลายเป็นเส้นคดเคี้ยวคล้ายคลื่นน้ำหรือขมวดคล้ายก้นหอย
คริสศตวรรษที่ 18รูปแบบศิลปกรรมโรโกโกแสดงถึงความต้องการและรสนิยมของชนชั้นสูง ศิลปะโรโกโกเสื่อมลงพร้อมการล่มสลายของราชวงศ์บูร์บองและการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศสคำว่า โรโกโก หมายถึง การตกแต่งภายในอาคารและรูปลักษณะของลวดลายที่ปรากฎในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ราว ค.ศ. 1700 จุดเด่นของศิลปะโรโกโก อยู่ที่การตกแต่งภายในและสิ่งของเล็ก ๆ การออกแบบเครื่องเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ รูปทรงบอบบาง ประดับลวดลายเป็นเส้นคดเคี้ยวคล้ายคลื่นน้ำหรือขมวดคล้ายก้นหอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น