ยุคใหม่

ยุคใหม่ (Modern Age) ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ศิลปินยุคใหม่ต่างพากันปลีกตัวออกจากการยึดหลักวิชาการ (Academic) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีรากฐานมาจากศิลปะกรีกและโรมัน มาใช้ความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนอย่างอิสระ แยกศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง ศิลปะจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังจะได้กล่าวพอสังเขปดังนี้

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)
ลัทธิคลาสสิคใหม่มีแนวความคิดและการปฏิบัติอยู่ที่การลอกเลียนศิลปกรรมโบราณแทบทุกอย่าง โดยเฉพาะศิลปะของกรีกโบราณและอียิปต์ ชาก - ลุย เดวิด เป็นผู้นำลัทธินี้และ โอกุสต์ โคมินิกแองเกรส์
นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคนและส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่  ชาก  ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น การสาบานของโฮราตี (The Oath of Horatij) การตายของมาราต์ (The Death of Marat) การศึกระหว่างโรมันกับซาไบน์ (Battle of the Roman and Sabines) เป็นต้น




ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)หรือจินตนิยม
ใช้เรียกการแสดงออกที่ทำให้เกิดความสะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับความศรัทธา ความรัก ความชอบ ความโกรธ ความปิติยินดีความเกลียดชัง โดยแสดงอารมณ์เหล่านี้อย่างคลั่งไคล้เกินปกติวิสัยการแสดงออกทางจินตนาการหรือมโนภาพที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน ความแปลกประหลาดน่าพิศวง ความน่าทึ่ง น่าตื่นเต้น เรื่องอันเร้าใจอย่างสุดขีด ความรุนแรง ความหวาดเสียวน่าสยดสยอง หรือเรื่องที่เกี่ยวกับอารมณ์ภายในใจอันปั่นป่วนอย่างรุนแรง แสงเงา และประมาตรที่มีการ ขัดแย้ง ค่อนข้างรุนแรง เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ชมให้บังเกิดความรู้สึกตามศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและ         ผู้สร้างสรรค์  ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa)  เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่  ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดคร่าของนางรีเบกกา เป็นต้น  ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude)เป็นต้น
จิตรกรรม  จิตรกรสำคัญ คือ - เตโอดอร์ เชริโกต์ (Theodore Gericault) ฝรั่งเศส
เดอลากรัว (Delacroix) วิลเลียม เทอเนอร์ (William Turner) อังกฤษ 
จอห์น คอนสเตเบิล (John Constable)   โกย่า (Goya) สเปน





ศิลปะแบบเรียลลิสม์ (Realism)
ศิลปินกลุ่มเรียลลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้  ได้แก่  โดเมียร์ (Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม  มาเนต์ (Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคมเช่นการประกอบอาชีพ
 ใช้เรียกผลงานศิลปะที่มีรูปแบบและการแสดงออกอย่างเหมือนจริง เน้นความจริงที่ศิลปินในอดีต เคยรังเกียจ โดยกล่าวหาว่าเป็นสิ่งสามัญและเป็นของพื้น ๆ ปราศจากคุณค่าทางความงาม เช่น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นต่ำผู้ยากไร้หรือสภาพอาคารที่อยู่อาศัยอันซอมซ่อใช้เปรียบเทียบตรงข้ามกันกับคำว่า Abstract (นามธรรม) ศิลปิน ได้แก่ โดมีเยร์ (Daumier) กูร์เบต์ - คูรเบต์ (Courbet)
มีลเลต์ (Millet) ประติมกร โรแดง (Auguste Rodin)

ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)
ศิลปะลัทธิเรียลลิสซึ่มดำเนินมาชั่วระยะหนึ่งได้เริ่มตกต่ำลงเนื่องจากมีเรื่องราวที่ค่อนข้างจัดขอบเขตของมโนภาพ มีแต่ความซ้ำซากไม่มีจุดเร้าใจใหม่ ๆแนวคิดการสร้างงานออกไปวาดภาพจากของจริงที่ต้องการโดยตรงพยายามจับเอาแสงสีในอากาศให้ได้สภาพของบรรยากาศในขณะนั้นให้ใกล้เคียงที่สุดเพราะแสงและสีเปลี่ยนแปลงทุกนาทีใช้เทคนิคการระบายสีอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน จนเกิดรอยแปรงเนื่องจากต้องการความฉับไวในการจับแสงสีบรรยากาศที่ถูกต้องยึดหลักทฤษฎีอย่างเคร่งครัดเคารพและถือเอาธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไม่นำเอาความฝัน จินตนาการหรือแม้กระทั่งอารมณ์ส่วนตัวมาปะปนไม่เน้นเรื่องราวที่เขียน จะเขียนรูปอะไรก็ได้ตั้งแต่ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล หรือหมอก ควัน ตลอดจนกระทั่งฝูงชน การละเล่น การแข่งม้า
ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสซึ่มแยกออกเป็น  สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึ่ม สมัยนีโอ อิมเพรสชั่นนิสซึ่ม (Neo Impressionism) และสมัยโพสท์ อิมเพรสชั่นนิสซึ่ม (Post Impressionism)
มาเนต์ (Edouard Manet 1832 - 1833) โมเนต์ (Claude Monet 1840 - 1926)    
เรอนัวร์  (Pierre Augusts Renoir 1841 - 1919)       เดอกาส์ (Edgar Degas 1834 - 1917)
ปิสซาร์โร (Camille Pissaro 1830 - 1903)  
ศิลปินในยุคนีโออิมเพรสชั่นนิสซึ่ม    เซอราต์ (Georges Pierre Seurat 1850 - 1891)  
ศิลปินในลัทธิโพสต์-อิมเพรสชั่นนิสซึ่ม (Post-Impressionism)
พอล เซซานน์ (Paul Cezanae 1839 - 1906)   แวนโก๊ะ (Vincent Van Gogh 1853 - 1890)
โกแก็ง (Paul Gaugain 1848 - 1903)    โลเทร็ค (Henri de Toulouse Lautrec 1864 - 1901)


ศิลปะสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20

ลัทธิโฟวิสซึ่ม (Fauvism)
ความหมายถึง สัตว์ป่าอันหมายถึง ผลงานของศิลปินกลุ่มนี้ ซึ่งมีลักษณะการใช้สีสันสดใสตัดกันอย่างรุนแรงลัทธินี้เกิดขึ้นและหมดความนิยมลงในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น แนวทางการสร้างผลงาน
ผลงานมีรูปทรงอิสระ สร้างขึ้นตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่ งานจะปรากฎความสนุกสนานในลีลาของรอยแปรงและจังหวะของสีต่าง ๆ มีการตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อเน้นให้เด่นชัดมีรูปแบบง่าย ๆ เรียบ ๆ ต้องการแสดงทั้งรูปทรงและแสงไปพร้อมกันนิยมใช้สีตัดกันรุนแรง แต่มีความประสานสัมพันธ์กัน โดยส่วนรวม เช่น ใช้สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีแดง และสีม่วง เป็นต้นสีมีความสำคัญกว่าเรื่องของหลักการทัศนียภาพและรูปทรงผลงานมีลักษณะเป็นแบบสัญลักษณ์ มีความเกี่ยวพันกับเรื่องศีลธรรม จรรยา ปรัชญา หรือเงื่อนไขความคิดทางการเมืองและทางสังคมน้อยมาก มีลักษณะเหมาะสมในการใช้ตกแต่งอาคารสถานที่มากกว่า
ศิลปิน : มาทิส (Henri Matisse 1869 - 1954)             รูโอลท์ (Georges Rouault 1871 - 1958)




ลัทธิเอ็กซเพรสชั่นนิสซึ่ม (Expressionism)
แสดงอารมณ์ออกมาอย่างสุดขีด แสดงความสกปรก ความหลอกลวง และความเน่าเฟะของสังคมรูปแบบการแสดงออกมีการปิดแปรผันรูปทรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคน ต้นไม้หรืออื่น ๆ ให้ดูหมุนเวียนผิดไปจากปกติ ใช้เส้นอย่างมั่นคง แน่วแน่หนักแน่นใช้สีสดรุนแรงตัดกันยิ่งกว่าที่ปรากฎในธรรมชาตินิยมนำเอารูปแบบและความคิดทางศิลปะของพวกอัฟริกันมาใช้ เป็นการนำเอาสิ่งที่ไร้ความเจริญมาพัฒนาใหม่ ศิลปินได้แก่  มุงค์ (Edvard Munch 1863 - 1944)  มาร์ค (Franz Marc 1880 - 1916)  เบคมันน์ (Meckmann 1884 - 1950)
    



 

ลัทธิคิวบิสซึ่ม (Cubism)
สร้างงานด้วยการวิเคราะห์ แยกรูปทรงของวัตถุ แล้วตัดทอนให้กลายเป็นรูปร่างแบบเรขาคณิตบางครั้งใช้เทคนิคการนำเอาวัสดุต่าง ๆ มาปะติดบนงานจิตรกรรมเรียกว่า วิธีคอลาจ (Collage) เน้นให้รูปทรงต่าง ๆ ที่เป็นรูปเรขาคณิตนั้น แข็ง แน่น เต็มไปด้วยปริมาตรและทำให้เกิดมิติที่สามหรือความลึกตื้นด้วยการใช้เส้นหักมุมไปมาคล้ายการเล่นหักเหลี่ยมของเพชร ศิลปินได้แก่
ปิกาสโซ่ (Pablo Picasso 1881 - 1973)   บราค (George Graque 1882 - 1963)



  

  

ลัทธิฟิวเจอริสม์(FUTURISM)   
         เน้นการแสดงภาพที่แสดงถึงความเร็ว วิทยาศาสตร์ การเคลื่อนไหว  โดยทั่วไปแนวทางศิลปะแบบฟิวเจอริสม์ได้นำเอาลักษณะของศิลปะแบบคิวบิสม์ผสมผสานกับลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษของศิลปะนี้ลัทธิ"ฟิวเจอริสม์" เป็นลักษณะการเขียนแบบคิวบิสม์ แต่มีจุดประสงค์แสดงความเคลื่อนไหว คือทำให้เกิดลักษณะแอ๊บสแตรค ที่เรียกว่า ความเร็ว และการผันแปรที่มองเห็นได้เป็นศิลปะที่เริ่มที่กรุงปรารีส

  

 

ลัทธิเซอร์เรียลลิสซึ่ม (Surrealism)
    เป็นลัทธิทางศิลปะที่มีความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1924 มีความคิดตามครรลองทฤษฎีของนักจิตวิทยาซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึ่งเชื่อในเรื่องการแสดงออกของคนเราจากสัญชาตญาณจิตไร้สำนึกและความฝัน แนวทางในการแสดงออกของ  ชากาล (Marc Chagall)          ดาลี (Salvador Dali) เอินสท์ (Max Ernst)

   

 

ลัทธิป๊อปอาร์ท (Pop Art)
สร้างผลงานโดยขยายให้มีขนาดใหญ่ เพื่อให้มีผลขยายต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียง เช่น จัดเป็นฉากชีวิตในบ้านราวกับนำเอาของจริงมาแสดงหรือวาดให้มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ควรจะเป็นมีความเคลื่อนไหวที่ยืดหยุ่นสามารถปรับตัวเข้ากับศิลปะทุกรูปแบบมีเจตนารมย์สะท้อนภาพชีวิตสังคมปัจจุบัน นำเอาเรื่องราวที่คนทั่วไปคุ้นเคยจนไม่เป็นความสำคัญมา สร้างงาน  ศิลปินได้แก่
ราเซนเบิร์ก (Robert Rauschenberg)   อินเดียนนา (Robert Indianna) ลิสเชนสทีน (Roy Lichtenstein)  โลเซนควิสต์ (James Rosenquist) วอร์ฮอล (Andy Warhol)ซีกัล (George Segal)

   

    

ลัทธิออปอาร์ท (Op Art)
แสดงผลงานด้วยการใช้สีเป็นสื่อ ใช้สีประกอบกันให้เกิดความรู้สึก ตื้นลึก ใกล้ไกล และรู้สึกเคลื่อนไหว สะดุดตามากที่สุดไม่มีรูปทรงหรือรูปร่างที่จะเข้าใจได้ว่าคืออะไร โดยมากมักใช้รูปร่าง  ง่าย ๆ ทางเรขาคณิตเป็นจิตรกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อความรู้สึกด้วยตาโดยเฉพาะ พยายามทำให้มีความรู้สึกตื่นเต้น เคลื่อนไหวให้มากที่สุดตามทฤษฎีการมองเห็น  ศิลปินได้แก่  อัลเบอร์ส (Joset Albers)         วาซาร์ลี (Vactor Vasarely)   อานูสเกวิซ (Richard Anuzkiewicz)   ไรเลย์ (Riley)

   

      


     สรุปแล้ว งานศิลปะสมัยใหม่ เป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคน เน้นความ เป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิด เทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็แสดงภาวะทางจิตของศิลปิน และกลุ่มชน บ้างก็แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆรวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้าง สรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่ รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับ ความนิยม และสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก   http://www.hosting.cmru.ac.th/ruth/lesson/unit6.htm


จัดทำโดย

1.นายศุภฤกษ์     รัตนบุรี     เลขที่ 6
2. นางสาวอาณัฐชนิชา     คงลือรักษ์     เลขที่ 16
3. นายณัฐพล     สบายสุข     เลขที่ 19
4. นางสาวธนภรณ์     เบญจถาวรอนันท์     เลขที่ 22
5. นางสาวประกายกาญจณ์     ภู่ภูริพันธุ์     เลขที่ 23
6. นายภัทร     ยุทธ์ธนโสภณ     เลขที่ 25
7. นางสาวเบญจวรรณ     กลิ่นหอม     เลขที่ 26
8.นายพีรพัฒน์     ชอุ่มดี     เลขที่ 37
9.นายปกรณ์     ตันกุรานันท์     เลขที่ 38

มัธยมศึกษาปีที่     6/3

รายวิชาศิลปะ ( ศ33101)

โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า


ไม่มีความคิดเห็น: